Thursday, September 14, 2017

วิชาโปรแกรมมัลติมีเดีย

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 10 เรื่อง การเตียมตัวก่อนการนำเสนอ

การเตรียมการนำเสนอ
การนำเสนอเรื่องในลักษณะใดก็ตามถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายหรือไม่เป็นไปดังที่ตั้งจุดหมายไว้ ฉะนั้นถ้าต้องการให้การนำเสนอข้อมูลเป็นไปด้วยความราบรื่นและบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ ผู้นำเสนอควรจะต้องเตรียมการให้พร้อมก่อนที่จะนำเสนอทุกครั้ง การเตรียมการเพื่อนำเสนอข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้
1.การศึกษาข้อมูล
ผู้ที่นะนำเสนอจะต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ดั้งนี้
1.1ศึกษาเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อรวบรวมแกละจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่จะ นำเสนอให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
1.2ศึกษาวิเคราะห์ผู้รับการนำเสนอหรือผู้ฟัง เพื่อที่จะได้วางแผนการใช้เทคนิคและวิธีการนำเสนอ
1.3ศึกษาวิเคราะห์นำเสนอ ตลอดจนการใช้ถ้อยคำภาษาที่เหมาะสม
1.3ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมายที่จะนำไปเสนอเพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับผู้รับการนำเสนอ
1.4ศึกษาโอกาสเวลาและสถานที่ที่จะนำเสนอเพื่อจะได้กำหนดเค้าโครงและเนื้อหาพร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำเสนอ
2.การวางแผนการนำเสนอจะช่วยให้การนำเสนอเป็นไปตามลำดับข้อมูลไม่สับสนครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมกับเวลาการนำเสนอที่บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ควรมีการวางแผนที่จะนำเสนอดังนี้
2.1รูปแบบวิธีการนำเสนอโดยมีหลักในการวางรูปแบบวิธีการนำเสนอแบ่งกว้างๆได้เป็น 2 แบบคือ
1.การนำเสนอแบบที่เป็นทางการเช่นการนำเสนอแบบรูปแบบปาฐกถาการอภิปรายการบรรยายพิเศษต่าง ๆ
2.การนำเสนอแบบที่ไม่เป็นทางการ
2.2วางแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคปัญหาและอุปสรรคในการนำเสนออาจจะเกิดขึ้นได้ในหลายหลายกรณีถ้าเราคาดเดาปัญหาไว้ก่อนล่วงหน้าโดยการศึกษาข้อมูลก่อนที่จะนำเสนอให้ถ่องแท้ก็สามารถช่วยให้มองแนวทางในการแก้ปัญหา
2.3วางเค้าโครงการนำเสนอ ทำได้โดยการนำหัวข้อที่จะนำเสนอมาแบ่งหมวดหมู่เรียงตามลำดับ แล้วเขียนเป็นลำดับขั้นคอนของแผนการนำเสนอ
2.4วางแนวทางในการนำเสนอ เป็นการกำหนดแนวทางที่จะใช้ในการนำเสนอจัดทำหลังจากที่ได้วางเค้าโครงแล้ว การวาง แนวทางในการเสนอจะช่วยให้ผู้นำเสนอเกิดความพร้อม ดังนี้
1.กำหนดวิธีการนำเสนอ
2.กำหนดสถานที่ที่พร้อมและเหมาะสมในการนำเสนอ
3.กำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบการนำเสนอ
4.กำหนดบุคคลผู้เกี่ยวข้อง
5. กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอ
2.5 วางกำหนดขั้นตอนการนำเสนอ เมื่อได้วางแนวทางการนำเสนอขันต่างๆมาแล้ว ขั้นสุดท้ายก็จะต้องกำหนดขั้นตอนการนำเสนอให้สัมพันธ์กับวิธีการ
3. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่อาจดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ตลอดเวลา ฉะนั้นจึงต้องใช้วัสดุหรือเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ เข้ามาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจแต่ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการบรรยาย
1.เครื่องฉายแผ่นใส หรือเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
2.วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง แผ่นใส
3.แบบจำลอง
3.2อุปกรณ์ที่ใช้เสริมการบรรยาย
1.แผ่นพับ 2.หนังสือ 3.รูปภาพ 4.เอกสารประกอบ
4. การจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ ในการนำเสนอนอกจากจะต้องตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบการนำเสนอแล้ว การเตรียมความพร้อมของสถานที่ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การนำเสนอเป็นไปได้ด้วยดี
4.1 การจัดห้องสำหรับการนำเสนอ ควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ฟังเช่น ห้องประชุมขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดใหญ่
4.2 การจัดที่นั่งและแท่นสำหรับการนำเสนอ จะต้องเตรียมให้พร้อม
1. แท่นสำหรับบรรยายใช้ในกรณีที่ยืนพูด
2. โต๊ะสำหรับบรรยายใช้กรณีที่นั่งพูด
3. โต๊ะวางอุปกรณ์ช่วยประกอบการบรรยาย
4.3 ระบบระบายอากาศ จะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
4.4 ระบบเสียง ควรมีการทดสอบก่อนการใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ดี มีความดังชัดเจน
4.5 ระบบแสดงสว่างภายในห้อง จะต้องให้เหมาะสมกับสายตาของผู้ฟัง พอเหมาะกับการใช้งาน
4.6 การประดับตกแต่งสถานที่ การใช้สิ่งประดับตกแต่งห้องหรือบริเวณที่จะใช้ในการนำเสนอทั้งสิ้น สิ่งที่นำมาตกแต่ง

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 9 เรื่อง การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ

ชนิดของลูกเล่นที่ควรทราบ

          สำหรับ PowerPoint 2010 สามารถสร้างลูกเล่นหรือเทคนิคในการนำเสนอได้ 2 แบบ ดังนี้
-แบบที่   Animation 
Animation  (อ่านว่า แอนิเมชั่น ) เป็นลูกเล่นให้กับข้อความ รูปภาพ หรือสิ่งต่างๆที่อยู่บนสไลด์ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเปิดสไลด์ขึ้นมา เราอาจจะเห็นข้อความวิ่งปรากฏมาจากด้านซ้ายของสไลด์ หรือวิ่งมาทีละตัวจากด้านขาว หรือ หล่นลงมาจากด้านบน
-แบบที่  2  Transition
Transition (อ่านว่า ทรานซิสชั่น ) เป็นลูกเล่นที่ถูกแสดงในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  ตัวอย่างเช่น เมื่อสไลด์ที่แล้วหายไป  สไลด์แผ่นต่อไปจะปรากฏขึ้นมาโดยวิ่งแบบรวดเร็วจากทางด้านซ้าย  หรือค่อยๆ ปรากฏเป็นภาพสลัวๆ แล้วค่อยๆ ชัดขึ้น หรือภาพตารางหมากรุกก่อนจึงเห็นสไลด์ทั้งหมด

ใส่ ANIMATION แบบสำเร็จลงในข้อความ

          เพื่อความรวดเร็วในการกำหนดลูกเล่นให้กับข้อความ PowerPoint จึงได้เตรียมลูกเล่นสำเร็จรูปมาให้ 3แบบ คือ การค่อยๆปรากฏในสไลด์ (Fade),คลี่ (Wipe) และลอยเข้า (Fly in ) ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ทันทีดังตัวอย่างต่อไปนี้

คำสั่งภายใน ANIMATION

          ภายใน Animation จะประกอบด้วยคำสั่งสำหรับกำหนดและแก้ไข Animation ซึ่งถ้าผู้อ่านท่านใดเคยใช้  PowerPoint เวอร์ชันก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า PowerPoint 2010 มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งจากเดิมอยู่พอสมควร


แสดงลูกเล่นตามที่กำหนดไว้
เลือกลูกเล่นจากรายการที่เตรียมไว้
ปรับแต่งลูกเล่น
ใส่ลูกเล่นเพิ่มเติม
กำหนดปุ่มเพื่อเรียกใช้งานลูกเล่น
แสดงหน้าต่างเพื่อปรับแต่งลูกเล่น
ก็อปปี้ลูกเล่นไปใช้งาน
H  กำหนดเวลาหน่วงก่อนแสดงลูกเล่น
I  เลือกว่าจะเริ่มเล่นลูกเล่นเมื่อใด เช่นคลิกเมาส์
กำหนดเวลาในการแสดงลูกเล่น
จัดเรียงลำดับลูกเล่น

กำหนด ANIMATION ให้กับรูปภาพ

          การกำหนดลูกเล่นให้กับภาพมีลักษณะเดียวกับข้อความ  สามารถกำหนดลูกเล่นขณะรูปเข้ามาในสไลด์  ขณะอยู่ในสไลด์ และขณะที่ออกจากสไลด์  โดยสามารถกำหนดเสียงขณะแสดงลูกเล่นดังตัวอย่างต่อไปนี้



กำหนดเส้นทาง ANIMATION ใน สไลด์

โดยปกติการกำหนดลูกเล่นให้กับข้อความหรือรูปภาพ การวิ่งเข้ามาในสไลด์จะเป็นเส้นตรง คืออาจจะวิ่งมาทางซ้าย และทางขวา ด้านบน หรือด้านล่าง หากผู้อ่านต้องการให้รูปภาพวิ่งวนไปวนมา หรือวิ่งเป็นวงกลม เราต้องกำหนดเส้นทางการวิ่งเสียก่อน



จัดคิวในการนำเสนอ

          การกำหนดลูกเล่นในสไลด์จะมีลำดับการแสดงที่แน่นอน เราจะเห็นตัวเลข1,2,3, แสดง ลำดับว่าวัตถุใดจะปรากฏสไลด์เป็นลำดับแรก ลูกเล่นไหนจะเป็นอันดับต่อไป


ก็อปปี้รูปแบบ ANIMATION

          คุณสมบัติใหม่ประการหนึ่งที่สามารถพบใน PowerPoint 2010  คือสามารถก็อปปี้รูปแบบAnimation จากวัตถุหนึ่งไปยังวัตถุหนึ่งไปยังวัตถุอื่นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกำหนด   Animation  ในแบบเดิมๆให้เสียเวลาเลย

โปรเเกรมมัลติมีดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 8 การเเทรก ตาราง กราฟ เเละแผนผัง

การสร้างตาราง

โดยปกติแล้วหากข้อมูลที่นำเสนอบนสไลด์ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากและ
จำเป็นที่จะต้องจัดวางตำแหน่งเป็นลักษณะคอลัมน์มักจะนิยมใช้เทคนิคของตารางเข้ามาช่วยในการจัดตำแหน่งข้อมูล

1. คลิกที่เมนู Insert 

2. เลือกปุ่มคำสั่งตาราง
3. แดรกเมาส์ขนาดตามที่ต้องการ
4. จะได้ตารางตามจำนวนที่ต้องการ

การตกแต่งตาราง

กราฟ
  การนำเสนอข้อมูลลงในรูปแบบกราฟส่วนใหญ่จะใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูล เพราะสามารถนำสื่อความหมายได้ชัดเจน โดยสามารถเลือกกราฟชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้


การสร้างกราฟ

คุณสามารถนำข้อมูลตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ มาประกอบงานนำเสนอใน PowerPoint ด้วยการสร้างเป็นกราฟหรือแผนภูมิแบบต่างๆ ได้ตามวิธีการดังนี้

1. เปิดโปรแกรม PowerPoint เลือกเมนู Insert > Chart 2. จะปรากฏรูปแผนภูมิ และตารางสำหรับป้อนข้อมูล ให้พิมพ์ค่าตัวเลขลงในตารางดังกล่าว

2. หากต้องการเปลี่ยนแผนภูมิเป็นรูปแบบอื่น เช่น แบบ Line, Pie, Area ให้คลิกที่เมนู Chart > Chart Type เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ แล้วคลิก OK

การแก้ไขข้อมูในกราฟ

เลือกแผนภูมิที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง

ภายใต้ เครื่องมือแผนภูมิ บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม ข้อมูล ให้คลิก แก้ไขข้อมูล

Microsoft Office PowerPoint จะเปิดหน้าต่างที่แยก และจะแสดงแผ่นงานที่คุณต้องการแก้ไข

เมื่อต้องการแก้ไขเนื้อหาของชื่อเรื่องหรือข้อมูลในเซลล์ ในแผ่นงาน Excel ให้คลิกเซลล์ที่มีชื่อเรื่องหรือข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง แล้วพิมพ์ข้อมูลใหม่

ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

ถ้าแผนภูมิมีการเชื่อมโยง ให้บันทึกแผ่นงานแล้ว ปรับปรุงแผนภูมิใน PowerPoint

ถ้าแผนภูมินั้นถูกฝัง ให้ไปยังขั้นตอนที่ 5 PowerPoint จะบันทึกแผนภูมิฝังตัวโดยอัตโนมัติ
 บนแท็บ แฟ้ม ให้คลิก จบการทำงาน


ผังองค์กร
ผังองค์กร คือ แผนผังที่แสดงรายชื่อและตำแหน่งของบุคลภายในองค์กร ซึ่งสามารถสร้าขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ Smart Art ซึ่งโปรแกรมมีผังองค์กรในรูปแบบต่างๆให้เลือกใช้งาน

การสร้างผังองค์กร
1. คลิกที่แท็บแทรก
2. คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Smart Art
3. เลือกคำสั่งลำดับชั้น
4. เลือกรูปแบบที่ต้องการ
5. คลิกที่ปุ่ม OK

การเพิ่มตำแหน่งแผนผังองค์กร
สามารถเพิ่มตำแหน่งในผังองค์กรได้ ดังนี้
1. คลิกที่ผังองค์กร
2. คลิกที่แท็บออกแบบ (Design)
3. เลือกปุ่มคำสั่งเพิ่มรูปร่าง (Add Shape)
4. เลือกตำแหน่งที่ต้องการเพิ่ม (Add Shape After)

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 7 เรื่อง การเเทรกเสียงและภาพยนต์

การแทรกรูปภาพ เสียง
และภาพยนตร์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

        ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าสนใจบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้สื่อต่าง ๆ
ภาพประกอบ เสียงบรรยาย เสียงประกอบเนื้อหา รวมไปถึงภาพยนตร์ ซึ่งซอฟต์แวร์ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum) ได้กำหนดรูปแบบของไฟล์นอกเหนือจากข้อความเป็นไฟล์มัลติมีเดีย ได้แก่ ไฟล์รูปภาพ
 ไฟล์เสียง และไฟล์ภาพยนตร์ดังนี้
                - การแทรกรูปภาพ สามารถรองรับไฟล์มาตรฐานหลายนามสกุล เช่น .gif, .tif, .bmp,
 .ipg, .pcx, .ico, .wmf, .png, .pad เป็นต้น
                - การแทรกเสียง สามารถรองรับไฟล์มาตรฐาน wave audio (.wav) midi audio (.mid) และ mp3 audio (.mp3)
                - การแทรกภาพยนตร์ สามารถรองรับไฟล์ภาพยนตร์มาตรฐาน นามสกุล .avi และ .mpeg
การแทรกรูปภาพ เสียง และภาพยนตร์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี้
                1. คลิกขวาบริเวณพื้นที่ว่างของหน้าที่ต้องการแทรกภาพ ให้เลือก Multi-Media Object…
                2. เมื่อปรากฏกรอบหน้าต่างใหม่ ชื่อ Insert Multi-Media Object ให้เลือกไปยังแหล่งที่เก็บไฟล์ภาพที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งเมื่อพบเห็นรายการเป็นชื่อไฟล์ทางช่องขวามือ แต่ถ้าหากอยากเห็นไฟล์ข้อมูลเป็นลักษณะรูปภาพกรอบเล็กๆ หรือ Thumbnail ให้คลิกปุ่ม View as Thumbnail








โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 6 เรื่อง การปรับเเต่งสไลด์ด้วยภาพ

แถบเครื่องมือในการปรับแต่งภาพประกอบสไลด์

แท็บ Ribbon จัดกลุ่มเครื่องมือและฟีเจอร์เข้าด้วยกันตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น 

ในการทำให้สไลด์ของคุณดูดีขึ้น ให้ค้นหาตัวเลือกบนแท็บ ออกแบบ เครื่องมือที่คุณ
ใช้ทำภาพเคลื่อนไหวบนสไลด์ควรจะอยู่บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว

มาดูกันว่าคุณจะพบอะไรบ้างในแท็บ Ribbon ของ PowerPoint แต่ละแท็บ
1. หน้าแรก



แท็บ หน้าแรก จะมีฟีเจอร์ ตัด และ วาง ตัวเลือก ฟอนต์ และ ย่อหน้า และสิ่งที่คุณต้อง
ใช้เพื่อเพิ่มและจัดระเบียบสไลด์
2. แทรก



การปรับแต่งโหมดสีของภาพ
1. คลิกที่แถบเครื่องมือรูปภาพ
2. คลิกปุ่มคำสั่ง
3. เลือกรูปตามที่ต้องการ
4. สีของภาพต้นฉบับจะถูกเปลี่ยนตามโทนสีที่เลือก



การกำหนดพื้นหลังภาพโปร่งใส
1. เลือกภาพที่ต้องการปรับแต่ง
2. คลิกแท็บคำสั่งรูปแบบ
3. คลิกที่ปุ่มคำสั่ง สี
4. เลือก กำหนดสีโปร่งใส 

5. คลิก กำหนดสีโปร่งใส และเมื่อตัวชี้เปลี่ยนแปลง ให้คลิกสีที่คุณต้องการทำให้โปร่งใส



การปรับความคมชัด และความสว่างของภาพ
 หากภาพที่นำมาวางลงบนสไลด์มีความกลมกลืนกับพื้นหลังของสไลด์ สามารถปรับความคมชัดและความสว่างของภาพ เพื่อให้ภาพดูโดดเด่นขึ้น
เพิ่มความคมชัด - ตัวอย่างการเพิ่มความคมชัด



การตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการ
  หากภาพที่นำมาวางบนสไลด์มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ต้องการ สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการได้
การแทรกรูปร่างลงบนสไลด์
 นอกจากรูปภาพที่แทรกลงบนสไลด์แล้ว ยังสามรรถแทรกรูปร่างลงบนสไลด์ได้โดยในโปรแกรมได้เตรียมรูปร่างต่างๆ ไว้ให้เลือกใ้งานมากมาย โดยสามารถแทรกรูปวางลงบนสไลด์งานได้ดังนี้
1. คลิกที่แท็บแทรก
2. เลือกปุ่มคำสั่งรูปร่าง
3. เลือกรูปร่างที่ต้องการ
4. วาดรูปร่างที่เลือก

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่องงานนำเสนอ บทที่ 5 เรื่องการปรับเเต่งสไลด์ด้วนข้อความ

การปรับแต่งสไลด์ด้วยข้อความ

รูปแบบของการปรับแต่งสไลด์ 
ในโปรแกรม Power point มีรูปแบบการตกแต่งสไลด์ให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ โดยภายใน
รูปแแบบนั้นก็จะปรากฎและประกอบด้วยองค์ประกอบภายใน ดังนี้

ใช้ธีมเพื่อทำให้กระบวนการสร้างงานนำเสนอที่มีลักษณะเหมือนนักออกแบบมืออาชีพเป็นเรื่องง่าย
ขึ้น สี แบบอักษร และลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบไม่เพียงใช้งานได้เฉพาะใน PowerPoint 
เท่านั้น แต่ยังพร้อมใช้งานใน Excel, Word และ Outlook ดังนั้นจึงทำให้งานนำเสนอ เอกสาร 
แผ่นงาน และอีเมลของคุณมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องชุดรูปแบบเดียวกันที่ใช้ใน PowerPoint, Excel 
และ Word
เมื่อต้องการจะลองใช้ชุดรูปแบบอื่น ให้วางตัวชี้บนรูปขนาดย่อในแกลเลอรีชุดรูปแบบและให้สังเกต
ว่าเอกสารของคุณได้เปลี่ยนไปอย่างไรกัน

ชุดรูปแบบ 4 ชุดที่ ใช้ในกราฟิก SmartArt เดียวกัน ตามเข็มนาฬิกา เริ่มจากซ้ายบน : Metro 
ชุดรูปแบบค่าเริ่มต้นของ Office Apex และ Trek

เคล็ดลับ เมื่อต้องการดาวน์โหลดชุดรูปแบบเพิ่มเติมจาก Microsoft Office.com ในแกลเลอรี
ชุดรูปแบบ ให้คลิกการเชื่อมโยง ชุดรูปแบบเพิ่มเติมบน Microsoft Office.com

การนำชุดรูปแบบใหม่ไปใช้เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดหลักในเอกสารของคุณ ลักษณะพิเศษ
อักษรศิลป์ จะถูกนำไปใช้กับชื่อเรื่องใน PowerPoint โดยตาราง, แผนภูมิ, กราฟิก SmartArt, 
รูปร่าง และวัตถุอื่นๆ จะได้รับการปรับปรุงเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กันและกัน นอกจากนี้ ใน
 PowerPoint คุณยังสามารถเปลี่ยนแปลงเค้าโครงและพื้นหลังภาพนิ่งของคุณได้เพิ่มขึ้นจากชุดรูป
แบบหนึ่งไปยังชุดรูปแบบหนึ่ง ถ้าคุณชอบลักษณะที่แสดงของชุดรูปแบบเมื่อคุณนำไปใช้กับงาน
นำเสนอของคุณ คุณสามารถดำเนินการจัดรูปแบบใหม่ให้เสร็จสิ้นด้วยเพียงคลิกเดียว ถ้าคุณต้องการ
กำหนดงานนำเสนอของคุณเองต่อไป คุณสามารถเปลี่ยน
สีของชุดรูปแบบแบบอักษรของชุดรูปแบบ หรือลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบ














การใช้งานชุดรูปแบบ
1. เปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint
2. คลิกเลือก Design
3. คลิกเลือก Browse

4. เลือกไฟล์ Template จากไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูล โดยจะแสดงตัวอย่างเพื่อ
ให้เลือก
5. คลิกปุ่ม Apply
6. คลิกเลือก Template ที่ต้องการ เพื่อเริ่มผลิตงานนำเสนอ

















การตกแต่งสไลด์ด้วยชุดรูปแบบสี
สไลด์ที่สร้างไว้มากมายโดยไม่มีสีสันหรือลวดลายประกอบนั้น ถ้านำไปแสดงในที่ประชุมก็อาจ
 ทำให้ผู้ชมไม่สนใจ การตกแต่งสไลด์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไว้ แต่ก็ต้องไม่มาก
เกิน ไปจนทำให้ผู้ชมสับสน ซึ่งการตกแต่งสไลด์นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่จำเป็น 3 อย่างคือ
1. Template (แม่แบบ) คือแบบสไลด์สำเร็จรูปหรือแม่แบบที่ PowerPoint เตรียมไว้ให้มีทั้งลวด
 ลาย สี ฟอนต์และขนาดตัวอักษร ช่วยให้การแต่งสไลด์ได้รวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น
2. Color Schemes (โครงร่างสี) คือกลุ่มของสีที่มีอยู่ด้วยกัน 8 สี ที่ออกแบบมาให้ใช้กับส่วน
ประกอบต่างๆ ในสไลด์ เช่น สีที่ใช้กับข้อความและเส้น, พื้นหลัง, เงา, หัวเรื่องและอื่นๆ ซึ่งมีให้เลือก
หลายชุดด้วยกันและจะแตกต่างกันไปเมื่อเลือกแม่แบบที่ต่างกัน
3. Master (ต้นแบบ) ช่วยให้การแต่งสไลด์ต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น กำหนดฟอนต์และ 
ขนาดของข้อความที่เป็นรายการย่อยครั้งเดียวในสไลด์ที่เป็นต้นแบบ ก็จะมีผลต่อทุกๆ สไลด์ 
แต่ถ้าจะทำ ให้แผ่นสไลด์ใดๆ แตกต่างจากสไลด์อื่น ก็ให้แต่งที่สไลด์แผ่นนั้นๆ แทน






















การปรับแต่งรูปแบบข้อความบนสไลด์
การใส่ข้อความในสไลด์มี 4 วิธีด้วยกันคือ
1. ใส่ในตัวยืด (Placeholder) ตัวยึดนี้จะมาพร้อมกับสไลด์แต่ละแบบที่เลือก ซึ่งสามารถเปลี่ยน
ฟอนด์หรือขนาดของอักษรได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ หัวเรื่องหลัก (Title), หัวเรื่องรอง 
(Subtitle) และแบบรายการย่อย (Bullet) ซึ่งในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal 
(ปกติ) จะแสดงข้อความเหล่านี้ให้เห็นและแก้ไขได้
2. ใส่ในกล่องข้อความ (Textbox) คล้ายกับตัวยึด ใช้เพิ่มข้อความนอกเหนือจากตัวยึดที่มีให้ในแต่
ละสไลด์ แต่จะไม่แสดงในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)
3. ใส่ในรูปแบบอัตโนมัติ (AutoShape) ที่มีรูปร่างแบบต่างๆ เช่น ดาว, ลูกศร แต่ไม่แสดงให้เห็น
ในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)
4. ใส่ใน WordArt ซึ่งสามารถประดิษฐ์หรือตัดข้อความให้เป็นรูปต่างๆ หมุน ใส่สี หรือมีเงาในแบบ
แปลกๆ แต่ไม่แสดงในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)

การปรับแต่งพื้นหลังบนสไลด์

คลิกขวาที่ภาพนิ่งที่คุณต้อง การเพิ่มสีพื้นหลังไล่ระดับสีไปแล้ว เลือกพื้นหลังรูป >ไล่ระดับ
เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการใช้สีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ชนิด และทิศทางของการไล่ระดับสี ให้คลิก การไล่ระดับสีที่
กำหนดไว้ แล้วเลือกตัวเลือกที่ต้องการ






















การสร้างแม่แบบสไลด์
เมื่อต้องการเริ่มต้นสร้างแม่แบบที่คุณจะใช้ในงานนำเสนอของคุณ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
เปิดงานนำเสนอเปล่า จากนั้นบนแท็บ มุมมอง ในกลุ่ม มุมมองต้นแบบ ให้คลิก ต้นแบบภาพนิ่ง
เคล็ดลับ ในมุมมองต้นแบบภาพนิ่ง ในบานหน้าต่างรูปขนาดย่อของภาพนิ่ง ต้นแบบภาพนิ่งจะแสดง
รูปภาพนิ่งขนาดใหญ่ และเค้าโครงที่เกี่ยวข้องขนาดเล็กกว่าอยู่ภายใต้ต้นแบบภาพนิ่งนั้น















1. ต้นแบบภาพนิ่ง

2. เค้าโครงที่เกี่ยวข้อง

เมื่อต้องการกำหนดต้นแบบภาพนิ่งและเค้าโครงที่เกี่ยวข้องเอง ให้ทำอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อไปนี้

เมื่อต้องการเอาพื้นที่ที่สำรองไว้เริ่มต้นที่ไม่ต้องการออกจากเค้าโครง ในบานหน้าต่างรูปขนาดย่อ
ของภาพนิ่ง ให้คลิกเค้าโครงภาพนิ่งที่มีพื้นที่ที่สำรองไว้ ให้คลิกเส้นขอบของพื้นที่ที่สำรองไว้ใน
หน้าต่างงานนำเสนอ แล้วกด DELETE

เมื่อต้องการเพิ่มตัวแทนข้อความ ในบานหน้าต่างรูปขนาดย่อของภาพนิ่ง ให้คลิกเค้าโครงภาพนิ่ง
ที่คุณต้องการให้มีตัวแทนนั้น แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้

บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม เค้าโครงต้นแบบ ให้คลิก แทรกพื้นที่ที่สำรองไว้ แล้วคลิก ข้อความ

คลิกที่ตำแหน่งหนึ่งบนต้นแบบภาพนิ่ง จากนั้นลากเพื่อวาดพื้นที่ที่สำรองไว้

เคล็ดลับ เมื่อต้องการปรับขนาดพื้นที่ที่สำรองไว้ ให้ลากมุมใดมุมหนึ่งของเส้นขอบ

พิมพ์ข้อความอธิบายที่จะพร้อมท์ผู้ใช้แม่แบบของคุณใส่ข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง เมื่อต้องการเพิ่ม
ข้อความพร้อมท์ที่กำหนดเอง ให้ดู การเพิ่มตัวแทนข้อความด้วยข้อความพร้อมท์ที่กำหนดเอง

เมื่อต้องการเพิ่มพื้นที่ที่สำรองไว้ชนิดอื่นที่มีเนื้อหา เช่น รูปภาพ, ภาพตัดปะ, ภาพหน้าจอ, 
กราฟิก SmartArt, แผนภูมิ, ภาพยนตร์, เสียง และตาราง บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม 
เค้าโครงต้นแบบ ให้คลิก แทรกพื้นที่ที่สำรองไว้แล้วคลิกชนิดของพื้นที่ที่สำรองไว้ที่คุณต้องการเพิ่ม

เมื่อต้องการเพิ่มความเด่นโดยใช้สีหรือพื้นหลัง ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

เมื่อต้องการนำธีมไปใช้ (เพื่อให้ใส่สี การจัดรูปแบบ ลักษณะพิเศษต่างๆ ลงในเค้าโครง) 
กับงานนำเสนอของคุณ บนแท็บต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม แก้ไขชุดรูปแบบ ให้คลิก ชุดรูปแบบ
แล้วเลือกชุดรูปแบบ

เมื่อต้องการเปลี่ยนพื้นหลัง บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม พื้นหลัง ให้คลิก ลักษณะพื้นหลัง 
แล้วเลือกพื้นหลัง

เมื่อต้องการตั้งค่าการวางแนวของหน้าสำหรับภาพนิ่งทั้งหมดในงานนำเสนอของคุณ บนแท็บ 
ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม การตั้งค่าหน้ากระดาษ ให้คลิก การวางแนวภาพนิ่ง แล้วคลิก แนวตั้ง หรือ 
แนวนอน

เมื่อต้องการบันทึกแม่แบบของคุณ ให้คลิก ปุ่ม Office  แล้วคลิก บันทึกเป็น

ในกล่อง ชื่อแฟ้ม ให้พิมพ์ชื่อแฟ้ม หรือไม่ต้องพิมพ์เพื่อยอมรับชื่อแฟ้มที่แนะนำ

ในรายการ บันทึกเป็นชนิด ให้คลิก แม่แบบ PowerPoint แล้วคลิก บันทึก

เคล็ดลับ บันทึกแม่แบบของคุณลงในโฟลเดอร์แม่แบบที่ C:\Program Files\Microsoft Office\
Templates\ เพื่อให้ง่ายในการค้นหา

ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือในการนำแม่แบบใหม่ของคุณไปใช้กับงานนำเสนอ ให้ดู 
การนำแม่แบบไปใช้กับงานนำเสนอของคุณ

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่4 เรื่องการปรับเเต่งข้อความ

การปรับแต่งข้อความ

การพิมพ์ข้อความ
          การพิมพ์ข้อความ เป็นการแสดงรายละเอียดที่ต้องการถ่ายทอดให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ทราบข้อมูล
ที่ต้องการสื่อสารให้รับรู้โดยการถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือ
การพิมพ์ข้อความลงในสไลด์          
การพิมพ์ข้อความลงในสไลด์สามารถทำได้หลายวิธีทั้งแบบการใช้กรอบเค้าโครง กล่องข้อความ 
และข้อความศิลป์
การสร้างข้อความด้วยกรอบเค้าโครง         
 เมื่อสร้างสไลด์ใหม่ขึ้นมาโดยใช้ เค้าโครงภาพนิ่งก็จะมีองค์ประกอบที่เป็นส่วนของกรอบข้อความในลักษณะ 
ปลอบเขาล่างซึ่งมีไว้สำหรับเพิ่มข้อความลงในสไลด์โดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. คลิกเมาส์ในกรอบเค้าร่าง
          









2. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
          









1. การสร้างข้อความด้วยกล่องข้อความ             
 หากต้องการเพิ่มข้อความในพื้นที่บริเวณส่วนอื่นของสไลด์ นอกบริเวณกรอบเค้าโครง
 หรือสไลด์เปล่าที่ไม่มีกรอบเค้าโครง สามารถทำได้ดังนี้              
1. คลิกเมาส์ที่แท็บ แทรก (Insert)              
2. เลือกปุ่มคำสั่ง กล่องข้อความ (Text Box)
              









3. เลือกตำแหน่งที่ต้องการว่าง พิมพ์ข้อความที่ต้องการ









การสร้างข้อความด้วยอักษรศิลป์         
 อักษรศิลป์ คือรูปแบบของตัวอักษรที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความสวยงามโดยโปรแกรม
Microsoft PowerPoint สามารถเพิ่ม อักษรศิลป์ ลงในสไลด์ได้ดังนี้               
1. คลิกที่แท็บ แทรก (lnsert)              
2. เลือกปุ่มคำสั่ง อักษรศิลป์ (WordArt)              
3. เลือกรูปแบบอักษรที่ต้องการ
             









 4. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
          









1. การใส่ลักษณะพิเศษให้กับอักษรศิลป์              
สามารถเพิ่มลักษณะพิเศษให้กับอักษรศิลป์ที่สร้างขึ้นได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
              1. เลือกข้อความที่ต้องการเพื่อลักษณะพิเศษ
              2. เลือกแท็บคำสั่งรูปแบบ (Format)
              3. คลิกที่ปุ่มคำสั่ง เพิ่มลักษณะพิเศษข้อความ (Text Effects)
             









4. เลือกรูปแบบที่ต้องการ
5. เลือกรายละเอียดย่อยของรูปแบบที่ต้องการ
6. จะแสดงข้อความที่เพิ่มลักษณะพิเศษที่ได้ทำการเลือกเอาไว้
          









2. การแก้ไขข้อความอักษรศิลป์              
หากมาตรวจดูแล้วนะพบว่า ข้อความในอักษรศิลป์ที่ได้เพิ่มเข้ามานั้นผิดสามารถแก้ไขข้อความได้อย่างง่าย ๆ 
โดยไม่ต้องเสียเวลาสร้างใหม่ โดยสามารถทำได้ดังนี้              
1. คลิกเมาส์ที่ข้อความอักษรศิลป์ ให้เกิดเคอร์เซอร์ขึ้นมา
              









2. พิมพ์ข้อความที่ต้องการใส่ลงไป
           









3. การเปลี่ยนรูปแบบอักษรศิลป์อยากรวดเร็ว              
นอกจากปุ่มเพิ่มลักษณะพิเศษข้อความแล้วยังสามารถ เพิ่มลักษณะพิเศษให้กับข้อความได้อย่างรวดเร็ว
โดยทำตามขั้นตอนดังนี้              
1. เลือกข้อความที่ต้องการเพิ่มพิเศษ              
2. คลิกที่ปุ่มคำสั่งลักษณะด่วน (WordArt Quick Styles)
             









 3. เลือกรูปแบบที่ต้องการ
             









 4. แสดงข้อความที่เพิ่มลักษณะพิเศษ









การทำงานกับกรอบข้อความ           
ส่วนใหญ่ข้อความที่เห็นอยู่ในโปรแกรม PowerPoint มักจะอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมหรือ กรอบข้อความ 
ซึ่งกรอบข้อความเหล่านี้สามารถทำการปรับแต่งได้ เช่น ย้าย คัดลอก หรือปรับขนาดได้ตามที่ต้องการ           
1. การเลือกข้อความ             
 หากต้องการย้าย คัดลอก หรือกำหนดลักษณะพิเศษให้ข้อความ สิ่งแรกที่ต้องทำนั่นก็คือ 
การเลือกข้อความ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้              สามารถเลือกข้อความได้ด้วยปุ่มคีย์ลัด ดังต่อไปนี้
 รูปหน้าที่  Shift + เลื่อนไปด้านบน บรรทัดShift + เลื่อนลงมาด้านล่าง บรรทัด  
Shift + เลื่อนไปยังตำแหน่งถัดไป   Shift + เลื่อนไปยังตำแหน่งก่อนหน้า Ctrl + A เลือกข้อความทั้งหมด 
ดับเบิ้ลคลิกที่คำ (คลิก ครั้งติดต่อกัน) เลือกคำนั้น ทริปเปิ้ลคลิก (คลิก ครั้งติดกัน) 
เลือกทั้งบรรทัดหรือทั้งย่อหน้า 
 2. การคัดลอกข้อความ             
 หากต้องการสำเนาข้อความที่อยู่ในสไลด์หนึ่ง สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้             
1. เลือกข้อความที่ต้องการ              
2. คลิกเมาส์เลือกคำสั่ง คัดลอก (Copy)
              









3. เลือกตำแหน่งที่ตั้งการวาง              
4. คลิกเมาส์เลือกคำสั่งตัวเลือกการวาง (Paste)
           









3. การย้ายข้อความ              
หากต้องการย้ายข้อความที่พิมพ์ไว้ไปยังตำแหน่งใหม่สามารถทำได้ดังนี้              
1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการย้าย              
2. คลิกเมาส์ขวาเลือกคำสั่งตัด (Cut)
             









 3. เลือกตำแหน่งที่ต้องการวางข้อความ              
4. คลิกเมาส์ขวาเลือกคำสั่งวาง (Paste)









การกำหนดรูปแบบให้กับข้อความ           
สามารถปรับแต่งข้อความภายในสไลด์ให้น่าสนใจและสวยงามขึ้นได้ เช่น ทำการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
 เปลี่ยนขนาดตัวอักษร เปลี่ยนสีตัวอักษร เป็นต้น           
1. การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร              
สไลด์ที่ต้องการนำเสนอนั้น หากไม่เป็นทางการมากนัก สามารถเลือกใช้รูปแบบที่ดูทันสมัย
และไม่เป็นทางการ ก็สามารถใช้ฟอนต์รูปแบบอื่นได้ ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
ซึ่งถ้าเป็นข้อความภาษาไทยก็ควรที่จะเลือกฟอนต์ที่ลงท้ายด้วย New หรือ UPC แต่ถ้าเป็นข้อความภาษาอังกฤษ
ก็สามารถเลือกได้ทันที ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้              
1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการเป็นรูปแบบ              
2. คลิกเลือกแบบอักษร (Format Font)
             









 3. เลือกรูปแบบที่ต้องการ              
4. ผลลัพธ์รูปแบบข้อความที่เปลี่ยนไป
           









2. การเป็นขนาดตัวอักษร              
1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนขนาด              
2. คลิกขนาดตัวอักษร (Font Size)
             









 3. เลือกขนาดที่ต้องการ              
4. ผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไป
          









 3. การกำหนดตัวเอียง ตัวหนา และขีดเส้นใต้
หากต้องการให้ข้อความของเราน่าสนใจมากยิ่งขึ้นสามารถกำหนดข้อความของเราให้เป็นตัวเอียง 
ตัวหนาและขีดเส้นใต้ได้ดังต่อไปนี้
         1. คลิกเลือกข้อความ
         2. คลิกเลือกรูปที่ต้องการ
           



















4. การจัดตำแหน่งข้อความ
              1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการจัดตำแหน่ง
              2. เลือกตำแหน่งการวางที่ต้องการ
              3. เลือกตำแหน่งจัดข้อความกึ่งกลาง
              4. ข้อความที่ถูกจัดตำแหน่งใหม่

วิชาโปรแกรมมัลติมีเดีย

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 10 เรื่อง การเตียมตัวก่อนการนำเสนอ การเตรียมการนำเสนอ การนำเสนอเรื่องในลักษณะใดก็ตามถ้าไม่มีกา...